โรคกับการเดินทางทางอากาศ

Info06_page01

4 เรื่องสำคัญ #ผู้โดยสารป่วย #คนท้องต้องรู้ก่อนขึ้นเครื่องบิน เพราะความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นเรื่องสำคัญ มาดูกันว่าโรคหรือภาวะใดที่ต้องคำนึงก่อนการเดินทางโดยเครื่องบิน และควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง #AOTofficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย

ข้อมูลอ้างอิง: IATA Medical Manual, June 2018 (Specific medical guidelines page 53-60)

Info06_page02

เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง หากป่วยเป็นโรคต่อไปนี้ โปรดหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบินนะครับ

  • ผู้ป่วยโรคทางระบบไหลเวียนโลหิต โรคหัวใจที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาทรุนแรง (เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง โรคลมชักที่ไม่ได้รักษาอย่างต่อเนื่อง โรคทางจิตเวชที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้)
  • ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง ช่องอก หรือเพิ่งผ่าตัดใหญ่มาไม่เกิน 14 วัน
  • โรคเรื้อรังที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับโพรงอากาศภายในร่างกาย (เช่น หูชั้นกลาง โพรงไซนัสอักเสบ)
  • ผู้ป่วยโรคติดเชื้อรุนแรง ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ เช่น โรควัณโรคที่ยังไม่ได้รับการรักษา, โรคอีสุกอีใส
  • นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางไปทำกิจกรรมผจญภัย อย่างดำน้ำลึกหรือปีนเขาสูงมาภายใน 24 ชั่วโมง

#AOTofficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย

Info06_page03

หากคุณแม่อยากพาลูกในท้องขึ้นเครื่องบินอย่างสบายใจ อย่าลืม! ขอใบรับรองแพทย์มาด้วยนะครับ

ข้อกำหนดของสายการบินกรณีผู้โดยสารตั้งครรภ์ และมีอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ จะต้องแสดงใบรับรองแพทย์เพื่อรับรองความปลอดภัยในการเดินทาง  โดยมีหลักเกณฑ์คือ

  • ใบรับรองแพทย์ต้องระบุวันกำหนดคลอด และรับรองความปลอดภัยในการเดินทาง (Fit For Air Travel)
  • *การตั้งครรภ์ปกติ สามารถเดินทางได้จนถึงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยไม่จำกัดระยะเวลาบิน
    ยกเว้นบางสายการบินอนุญาตให้คุณแม่ตั้งครรภ์ 34 - 36 สัปดาห์ สามารถบินได้ไม่เกิน 4 ชม.
  • *การตั้งครรภ์แฝด สามารถเดินทางได้จนถึงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ (ควรออกเอกสารรับรองความปลอดภัยในการเดินทางจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อแสดงต่อสายการบิน)
  • การตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบิน ยกเว้นได้รับการตรวจประเมินและมีเอกสารรับรองความปลอดภัยในการเดินทางจากแพทย์เฉพาะทาง
  • ผู้โดยสารตั้งครรภ์ที่มีประวัติแท้งบุตรในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ ไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบิน กรณีจำเป็นควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อออกใบรับรองแพทย์ก่อน
    #AOTofficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย
Info06_page04

ผู้โดยสารที่ต้องการ #ใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้ในการเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือที่ท่าอากาศยานก็ได้ แต่ก่อนพบแพทย์ต้องแน่ใจว่าสุขภาพร่างกายพร้อมเดินทางจริง หากเจ็บป่วยกะทันหัน ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยของตัวเองนะครับ โดยใบรับรองแพทย์ต้องระบุว่า สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ หรือ *Fit For Air Travel* เสมอ เมื่อได้รับใบรับรองแพทย์แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สายการบินที่เคาน์เตอร์เช็กอิน หรือห้องบัตรโดยสารได้เลย

#การขอใบรับรองแพทย์สำหรับขึ้นเครื่องบิน

  1. เลือกพบแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการอบรมด้าน #เวชศาสตร์การบิน #การอบรมลำเลียงทางอากาศ เพื่อประเมินอาการได้อย่างแม่นยำ
  2. หากมาพบแพทย์ที่ท่าอากาศยาน ต้องเตรียมเอกสารประวัติการรักษาหรือ Discharge Summary มาด้วย ซึ่งการขอใบรับรองแพทย์ที่ท่าอากาศยานจะมีค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในอัตราค่าภาระการใช้ท่าอากาศยานของ ทอท.

#AOTofficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย

Info06_page05

ผู้โดยสารป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จำเป็นต้องมีแพทย์ พยาบาล หรือญาติที่สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องร่วมเดินทางไปด้วย และอาจต้องใช้อุปกรณ์หรือออกซิเจนบนเครื่องบิน จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  1. วางแผนการเดินทางและแจ้งสายการบินล่วงหน้าอย่างน้อย 3 - 5 วัน
  2. ขอใบรับรองแพทย์เพื่อเดินทาง
  3. ปฏิบัติตามกฎระเบียบสายการบิน

แม้จะมีใบรับรองแพทย์แล้ว **เจ้าหน้าที่หรือนักบินก็มีสิทธิ์ปฎิเสธผู้โดยสารได้** ตามกฎระเบียบของแต่ละสายการบินซึ่งแตกต่างกันไปนะครับ หากต้องการคำแนะนำด้านการแพทย์ เกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน ติดต่อได้ที่ #คลินิกแพทย์ ประจำทุกท่าอากาศยาน ตลอดเวลาทำการของท่าอากาศยาน
หรือ โทร. 02-132-7777 หรือ 02-535-1113 ตลอด 24 ชั่วโมง #AOTofficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย